น้ำหนักขึ้น อ้วนเร็วผิดปกติ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
น้ำหนักขึ้นเท่าไหร่ ถือว่าผิดปกติ หากคุณเพิ่มขึ้นมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักเดิมของเราภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน โดยที่ไม่ได้ตั้งใจจะเพิ่มน้ำหนักเลย นั่นหมายถึงอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณได้ เช่น หากเคยมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม หากคุณน้ำหนักเพิ่มถึง 63-66 กิโลกรัม ภายใน 6 เดือน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายโดยละเอียด เพราะอาการน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอันตรายต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมน ไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง ตับ ไต เป็นต้น
มาดูสาเหตุ ที่ทำให้อ้วนเร็วกันเลย…….
1. ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ดี
อย่าเพิ่งค่อนขอดใครว่าอ้วน กินเยอะอย่างเดียว เพราะที่เขาอวบขึ้นมาอย่างหนัก อาจจะเป็นเพราะต่อมไทรอยด์ไม่ค่อยทำงานก็ได้ ต่อมนี้จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานแต่ถ้าเกิดต่อมนี้ขี้เกียจขึ้นมาจะเรียก hypothyroidism พอร่างกายไม่ค่อยเผาผลาญตามปกติ ก็จะน้ำหนักขึ้นThe National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases บอกว่าส่วนที่แย่ที่สุดของอาการนี้ก็คือจะค่อยๆ เป็นอย่างช้าๆ คนส่วนใหญ่จะไม่สังเกตจนกระทั่งถึงจุดที่ตัวจะแตกแล้ว ถึงคุมการกินหรือออกกำลัง น้ำหนักก็ลดยาก
ทำอย่างนี้สิ!: ไปพบคุณหมอเลย ถ้ารู้สึกว่าน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ไม่ได้กินเยอะ คุณหมอจะมีคำอธิบายกับยารักษามาให้
2. กินอาหารสุขภาพมากเกินไป
อย่าเข้าใจผิดนะคะ ว่ากินอาหารสุขภาพทำให้น้ำหนักขึ้น แต่เราควรจะกินแบบพอเหมาะ ไม่ใช่ฉันมาสายธัญพืช จะกินเท่าไหร่ยังไงก็ไม่อ้วน แต่ก็มีบางอย่างที่ต้องกินอย่างพอเหมาะ เช่น อโวคาโด ดาร์ดช็อกโกแลต ถั่ว ถ้ากินแบบไม่บันยะบันยัง ก็จะทำให้น้ำหนักขึ้นมาอย่างดาย
3. ไม่ยอมดื่มน้ำ
การดื่มน้ำ 2 แก้วต่อมื้อจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีมาก เพราะน้ำจะช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกาย แล้วยังทำให้อิ่มขึ้นอีกด้วย แต่ถ้าเราดื่มน้ำไม่เพียงพอเราจะกินอาหารเติมเข้าไปแทน และร่างกายจะสั่งว่ากำลังขาดน้ำ เลยสั่งให้เก็บน้ำที่เหลืออยู่เอาไว้ เป็นหุ่นบวมน้ำ ร่างกายไหลเวียนไม่ดี
ทำอย่างนี้สิ! วิธีที่ดีที่สุดของการดื่มน้ำ ไม่ใช่ซัดโฮกเข้าไปทีเดียว แต่ให้จิบไปเรื่อยๆ ทั้งวันแทน
4. ไม่ยอมชั่งน้ำหนัก
เชื่อว่าหลายๆ คนอาจเป็น ไม่อยากรับรู้ความเป็นจริงเลยไม่ชั่งน้ำหนักซะเลย ถ้าไม่รู้คือไม่เจ็บ ฮ่าๆๆ แต่ปล่อยๆ ไปรู้ตัวอีกทีตัวบานไปไกลเลย อย่างช่วงหน้าเทศกาลนี่เรานัดเพื่อนกินดะ บุฟเฟต์ ปิ้งย่าง ของกินจากกระเช้า ต้องระวังก่อนเอาอะไรเข้าปากของเราให้ดี
5. นอนดึก!
กินดี ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ๆๆๆ ติดซีรีส์จนนอนดึกเกือบทุกคืน มีการศึกษาบอกว่าจำนวนชั่วโมงที่เรานอนน้อยเกี่ยวกับค่า BMI หรือมวลร่างกายที่เพิ่มขึ้น ขนาดรอบเอวที่ขยายขึ้น เพราะว่าการอดนอนทำให้ฮอร์โมน ghrelin เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เราหิวเพิ่มปริมาณมากขึ้น แล้วสมองยังสั่งให้เราอยากกินจั๊งค์ฟู้ดแบบรุนแรง ควบคุมปริมาณที่พอดีไม่ได้ด้วย โอ๊ยยยย
ทำอย่างนี้สิ! หลังจากนอนให้เพียงพอ 1 หรือ 2 สัปดาห์ ประมาณ 7 ถึง 8 ชั่วโมง ความหิวและความอยากกินจะลดลง แคลอรี่เบิร์นได้ดีมากขึ้นด้วย
6. งานอย่างเครียด
ข้อนี้อยากบอกว่าจริงมากกก แล้วก็เป็นเพราะฮอร์โมนคอร์ติโซลถูกปล่อยออกมาตอนที่เราเครียด ทำให้น้ำตาลกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้น อินซูลินที่จะออกมาย่อยก็เลยโดนกักไว้ เราก็ยิ่งหิวเลยทีนี้ พอกินเยอะเกิน น้ำตาลในเลือดมากเกินไปก็เลยกลายเป็นไขมันพอกอยู่ตามตัว โดยเฉพาะตรงพุง
7. ปวดตัวเลยไม่อยากออกกำลัง
บางทีเราปวดไหล่ ปวดไหล่จากการทำงานมาเยอะๆ จะให้ไปออกกำลังก็รู้สึกไม่มีกำลังใจ แค่ไม่ได้เคลื่อนไหว ที่กินเข้าไปก็สะสมเป็นไขมันส่วนเกิน
ทำอย่างนี้สิ! ยิ่งปวดกล้ามเนื้อ เรายิ่งต้องหาวิธียืดกล้ามเนื้อ stretching แต่ถ้าเจ็บจากการปวดตามข้อให้หากีฬาที่ไม่ค่อยเจอแรงกระแทก ว่ายน้ำนี่เหมาะมาก
8. กินโปรตีนไม่พอ
ถ้าร่างกายได้รับโปรตีนไม่พอ ไม่ว่าจะเนื้อสัตว์ เต้าหู้ ฯลฯ ร่างกายเราจะไปย่อยกล้ามเนื้อ เอาสารอาหารมาใช้ กล้ามเนื้อที่น้อยลงก็แปลว่าระบบเมตาบอลิซึ่มช้าลงด้วย น้ำหนักเลยเพิ่มขึ้นตามมา
9. เพราะเราแก่ขึ้นไง!
เมื่อไหร่แฮปปี้ เบิร์ดเดย์ตัวเองตอนอายุ 30 ปีแล้ว ให้เราระลึกไว้เลยว่ามวลกล้ามเนื้อจะลดลง ระบบเผาผลาญก็ช้าลง เห็นชัดๆ กินเท่าเดิมและเหมือนเดิมอย่างตอนเป็นเด็กสาว แต่ตอนนี้อวบขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่อยากคิดว่าถ้าอายุ 40-50 แค่หายใจก็คงอ้วนแล้ว (เว่อร์ไปน่ะ)
ทำอย่างนี้สิ! ยังไงก็ต้องออกกำลังทั้งคาร์ดิโอและเล่นเวตสร้างกล้ามเนื้อ ถ้ามีกล้ามเนื้อแล้ว จะเผาผลาญอะไรก็ง่ายไปหมด
🔊🔊เคล็ดลับในการลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย
หลักการง่ายๆ มีเพียงแค่ลดอาหารที่ให้พลังงานเกินลง เช่น แป้งขาว น้ำตาล ไขมันจากสัตว์ เครื่องดื่ม และอาหารหวานๆ อาหารสำเร็ตรูป อาหารแปรรูปต่างๆ เป็นต้น จากนั้นเริ่มออกกำลังกายทั้งเล่นเวท และคาร์ดิโอครั้งละอย่างน้อย 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ และพักผ่อนให้เพียงพอ นอน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน หากรักษาระดับน้ำหนักให้ค่อยๆ ลง 1 เดือนไม่เกิน 2 กิโลกรัมได้ ก็สามารถลดน้ำหนักช้าๆ แต่ปลอดภัยได้เรื่อยๆ
เราไม่จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักทุกวัน อาจจะ 3-4 วันครั้ง หรืออาทิตย์ละครั้งก็ได้ เพื่อค่อยๆ เช็กน้ำหนักของตัวเองที่คงที่แล้ว (ใน 1 วันน้ำหนักของเราสามารถขึ้นหรือลงได้ ½ -1 กิโลกรัมอยู่แล้ว) และควรชั่งน้ำหนักเวลาเดิม วันเดิมของสัปดาห์ สวมชุดเดิม (ใส่ให้น้อยชิ้นที่สุด หรือไม่ใส่เสื้อผ้าก็ได้) บนเครื่องชั่งน้ำหนักตัวเดิม และวางเครื่องชั่งน้ำหนักที่เดิมทุกครั้ง (บางบนพื้นเรียบแข็ง ไม่วางบนผ้า หรือพรม เพราะค่าน้ำหนักอาจเคลื่อนได้
ขอบคุณรูปภาพหน้าปก : https://neversurrender.in.th/วิธีการรักษาหุ่น-ให้ยังสวย
ขอบคุณที่มาของบทความ : http://www.cleothailand.com/health/11
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น