ข้อเข่า ไม่แก่ก็ปวด (เสื่อม) ได้
อาการปวดเข่าพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เกิดจากพฤติกรรมการใช้งานข้อเข่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น ใช้งานข้อเข่าอย่างหนักและต่อเนื่อง หรือใช้งานเข่าที่ไม่เหมาะสมเช่น นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆ ทำให้เกิดแรงกดต่อข้อเข่าสูง, นั่งงอเข่านานๆ
อาการ
– งอเข่าหรือยืดเข่าได้ลำบาก
– ปวดเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะตอนลุกขึ้น หรือ คุกเข่า
– เกิดเสียงผิดปกติเมื่อขยับเข่า เช่น เสียงดังกึก เสียงลั่นในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
โดยทั่วไปแล้วอาการปวดเข่าเกิดจากสาเหตุหลัก คือ การบาดเจ็บบริเวณเข่า การอักเสบ เป็นต้น
วิธีดูแลรักษาข้อเข่า
1. ควบคุมน้ำหนัก
2. หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ
3. เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
4. ใส่ใจเรื่องอาหารและยา
ท่าทดสอบความแข็งแรงของข้อเข่า
1. ยืนเท้าชิด ให้เข่ากับปลายเท้าตรงไปด้านหน้า
2. ย่อลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เวลาย่อให้เท้าทั้งสองข้างสัมผัสกับพื้นตลอด ไม่เขย่งหรือกระดกเท้า เข่าต้องอยู่แนวเดียวกับปลายเท้า
***ถ้าลงไม่ได้ หรือ ถ้าลงได้เข่าอาจจะอ้าออก
อาจมีความเสี่ยงทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้นะคะ
บริหารกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของข้อเข่า การออกกำลังกายหรือกายบริหารนั้น ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเน้นกล้ามเนื้อหน้าขาหรือกล้ามเนื้อในการเหยียดเข่าเป็นหลัก ท่าบริหารข้างล่างนี้เริ่มจากง่ายไปยาก ดังนี้
ท่าที่ 1
เครดิต รูปภาพจาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/joint-replacement-surgeryopic
– นั่งชิดพนักเก้าอี้ ตัวตรง
– ค่อยๆ เหยียดเข่าไปด้านหน้าพร้อมกระดกข้อเท้าขึ้น
– เกร็งค้างนับ 1-10 ทำสลับข้าง
**จะช่วยทำให้ร่างกายของเราเกิดกล้ามเนื้อขาด้านบน กล้ามเนื้อขาจะช่วยพยุงน้ำหนักตัว ทำให้น้ำหนักตัวไม่ไปลงที่เข่าอย่างเดียว จะมีกล้ามเนื้อขาช่วยรับน้ำหนักได้
ท่าที่ 2
เครดิต รูปภาพจาก https://pantip.com/topic/37043356
– จับเก้าอี้ให้มั่น ยืนให้ตรง หลังห้ามงอ
– และเขย่งปลายเท้า ตัวตรง ดึงขึ้นไป **วิธียืดไม่ใช่ยืดแค่เท้านะคะ แต่ต้องยืดเอวด้วย
– เกร็งไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วนับ 1 ทำให้ได้ 10 ครั้ง 1 เซต ทำทั้งหมด 2 เชต
ท่าที่ 3
เครดิต รูปภาพจาก https://health.campus-star.com/general/20045.html
– ยืนหันหน้าเข้าหาพนักพิงเก้าอี้ ยกขาข้างหนึ่งขึ้น
– ยกส้นเท้าอีกข้างขึ้นช้าๆ (เขย่ง)
– ค่อยๆ วางส้นเท้าลงบนพื้น
– ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง ในแต่ละข้าง
ท่านี้จะช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้าและหัวเข่า
ร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ หากร่างกายไม่สมบูรณ์หรือมีปัญหา ก็อาจกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นเราจึงต้องดูแลรักษาร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งภายในและภายนอก ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมด้วยวิตามินต่างๆ เป็นต้น