เครื่องชั่งน้ำหนักควรมีมาตรฐานใดบ้างที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานสากล

in วิธีการใช้งานสินค้า

ปัจจุบัน เครื่องชั่งน้ำหนักที่ใช้ตามบ้านทั่วๆ ไปส่วนใหญ่จะมี 2 แบบด้วยกันคือ

เครื่องชั่งน้ำหนักแบบสปริงหรือแบบเข็ม

เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอลหรือแบบแสดงผลเป็นตัวเลข

แต่ไม่ว่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบใด ผู้ใช้มักจะสงสัยว่าทำไมการชั่งน้ำหนักแต่ละครั้งจึงได้ผลลัพธ์แตกต่างกัน มากไปบ้าง น้อยไปบ้าง หรือชั่งน้ำหนักสองเครื่องแต่ได้ผลลัพธ์ไม่เท่ากัน แล้วปัญหานี้เกิดจากอะไร จะเป็นเพราะความบกพร่องของผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าไม่ได้ตามมาตรฐาน หรือจะเป็นเพราะเราใช้ไม่ถูกวิธีตามคู่มือที่ให้มา หรือจะเป็นเพราะเครื่องชั่งน้ำหนักที่ซื้อมาเสียกันแน่

บทความนี้จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานของเครื่องชั่งน้ำหนัก หรือค่าคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล ซึ่งผู้ผลิตจะต้องผลิตสินค้าภายใต้มาตรฐานนี้ ทางการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบจึงจะอนุญาตให้ผลิตและวางจำหน่ายในท้องตลาดได้ ค่าคลาดเคลื่อนที่ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมีดังนี้คือ

👉 เครื่องชั่งน้ำหนักแบบสปริงหรือแบบเข็ม จะมีค่าคลาดเคลื่อนได้ดังนี้


🚩 +/- 1.2 กิโลกรัม สำหรับน้ำหนักของผู้ชั่งที่อยู่ระหว่าง 0-60 กิโลกรัม


🚩 +/- 2.0 กิโลกรัม สำหรับน้ำหนักของผู้ชั่งที่อยู่ระหว่าง 61-125 กิโลกรัม

👉 เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอลหรือแบบแสดงผลเป็นตัวเลขทศนิยม จะมีค่าคลาดเคลื่อนได้ดังนี้


🚩 +/- 0.2 กิโลกรัม สำหรับน้ำหนักของผู้ชั่งที่อยู่ระหว่าง 0-50 กิโลกรัม


🚩 +/- 0.3 กิโลกรัม สำหรับน้ำหนักของผู้ชั่งที่อยู่ระหว่าง 51-100 กิโลกรัม


🚩 +/- 0.5 กิโลกรัม สำหรับน้ำหนักของผู้ชั่งที่อยู่ระหว่าง 101-150 กิโลกรัม

ใส่ความเห็น