การใช้งานเครื่องชั่งน้ำหนักแบบวัดไขมันได้อย่างถูกต้อง
วิธีการใช้เครื่องชั่งน้ำหนักแบบวัดไขมันได้
ก่อนใช้งานเครื่องชั่ง ควรถอดรองเท้า ถุงเท้า และเช็ดเท้าให้สะอาด ไม่มีฝุ่น เพื่อให้เครื่องอ่านค่าได้ถูกต้อง ค่อย ๆ ขึ้นเหยียบบนเครื่องชั่ง โดยให้เท้าสัมผัสกับแถบโลหะเพื่อให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายเพื่อประมวลค่าต่าง ๆ
วางเครื่องชั่งน้ำหนักบนพื้นแข็ง
การวางเครื่องชั่งน้ำหนักไว้บนพรม หรือของนุ่มๆ จะทำให้พรมดูดซับน้ำหนักไว้ส่วนหนึ่ง เป็นผลให้น้ำหนักที่ได้ ไม่ตรงกับความเป็นจริง
**ควรวางเครื่องชั่งบนพื้นผิวที่แข็ง เรียบ ไม่เอียง และตัวเครื่องชั่งไม่กระดก ขณะขึ้นชั่ง ควรยืนนิ่งๆ จนกว่าเครื่องจะแสดงค่าน้ำหนักเสร็จสิ้น
ยืนให้ตรงและนิ่งที่สุด
ยืนให้ตรง และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล เพราะแค่เปลี่ยนที่ยืน หรือเปลี่ยนตำแหน่งเหยียบนิดหน่อย การวัดก็คลาดเคลื่อนได้แล้ว และตอนชั่งควรยืนตัวตรง ไม่โยกตัวไปมาเพื่อให้การวัดน้ำหนักได้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด
** เครื่องชั่ง จะมีค่าคลาดเคลื่อนของน้ำหนักที่ +/- 0.5 kg.
ชั่งน้ำหนักในเวลาเดิมทุกวัน
ทางที่ดีที่สุด คือการชั่งน้ำหนักในตอนเช้า เพราะตอนกลางวัน หรือตอนเย็น เมื่อคุณได้ดื่มน้ำเข้าไป จะทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่การเข้าห้องน้ำ ทำธุระส่วนตัว ก็ทำให้น้ำหนักเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
** การชั่งน้ำหนักแต่ละวัน ควรชั่งในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบค่าน้ำหนักและค่าอื่นๆ ได้อย่างชัดเจน
อย่าชั่งน้ำหนักหลังออกกำลังกาย
เพราะการที่เสียเหงื่อเยอะๆ หลังการออกกำลังกาย ก็ทำให้น้ำหนักตัวลดลงด้วย เพราะเหงื่อก็คือของเหลวในร่างกาย ซึ่งมีน้ำหนักเช่นเดียวกัน ถ้าต้องการจะชั่งจริงๆ ก็ให้ชั่งทั้งก่อนออกกำลังกาย และหลังเลย จะได้คำนวณถูก ว่าน้ำหนักของเหงื่อที่เสียไปนั้น เท่ากับเท่าไหร่
**** หมายเหตุ มีคำแนะนำการใช้งานเบื้องต้น และ คำเตือนเพื่อความปลอดภัย อยู่ในคู่มือที่แนบไปกับเครื่องชั่งทุกรุ่นที่เราจำหน่ายนะคะ
อย่าลืม! เช็คค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพื่อสุขภาพที่ดี
เพราะค่าที่วัดได้ไม่ได้แสดงถึงสุขภาพร่างกายที่ดีด้วยเสมอไป ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) หรือการประเมินปริมาณไขมันในร่างกายควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นการเช็คว่าร่างกายเรานั้นอยู่ในเกณฑ์การประเมิณระดับเท่าไร ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไปใช่หรือไม่
วิธีในการคำนวณคือ
BMI = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วย ความสูง (หน่วยเป็นเมตร) สองครั้ง (ค่ายกกำลังสองของความสูง)
หมายเหตุ
1) เครื่องหมาย + หมายถึง ระดับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามจำนวน + ที่เพิ่มขึ้น
2) การแปลผลค่าดัชนีมวลกายในผู้ที่มีกล้ามเนื้อมาก ๆ เช่น นักเพาะกายหรือนักกีฬาต้องใช้ค่าการวัดองค์ประกอบของร่างกายอื่น ๆ ร่วมในการแปลผล เพราะการที่มีน้ำหนักตัวมาก ไม่ได้แปลว่ามีมวลไขมันสะสมในร่างกายมากเสมอไป
3) ภาวะอ้วนลงพุง หมายถึง ความยาวเส้นรอบเอว ตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้ชาย และ ตั้งแต่ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง